08-06-2022
ที่เราๆท่านๆ รู้จักตะแกรงเหล็กกันดีอยู่แล้ว แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากตะแกรงเหล็ก ที่นำไปใช้ปูพื้นถนน หรืออาคารรวมถึงผนัง Precast แล้ว ตะแกรงเหล็ก ของสยามลวดเหล็ก ก็ยังมี ตะแกรงที่ชุบกัลวาไนซ์ ที่สามารถนำไปปูรอง ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาได้อีกด้วย ซึ่งทางสยามลวดเอง สามารถผลิตเป็นแผ่น ตามขนาดที่ลูกค้าต้องการแล้วนำไปวางใช้งานได้เลย ได้ทั้งความสะดวกสบาย และรวดเร็ว ในการทำงาน แบบนี้งานเสร็จเร็วแน่นอน
08-06-2022
เรามาทำความรู้จักกับลวดเหล็กสปริง กันดีกว่ามีกี่ชนิด ลวดสปริงสามรถแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ดังนี้ 1. Hard Drawn Steel Wire - (JIS G 3521) ลวดเหล็กที่ผลิตภายใต้กระบวนการรีดเย็น โดยใช้เหล็กลวดที่มีส่วนผสมของคาร์บอนสูง ที่เหมาะกับการใช้ผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น โดย Hard Drawn Wire แบ่งเป็น 3 เกรด คือ SWA SWB และ SWC แต่ละเกรดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน 2. Piano Wire - ลวดเปียโน (JIS G 3522) ลวดเปียโนผลิตจากกระบวนการรีดเย็น โดยใช้ลวดเหล็กที่มีส่วนผสมคาร์บอน ด้วยคุณภาพที่ดีนี้ ลวดเปียโนจึงนำมาใช้ในการผลิตสปริงที่มีคุณภาพสูงเป็นพิเศษ เช่น สปริงในอุตสาหกรรมยานยนต์ โช๊ค เครื่องยนต์ อาทิ สปริงวาวล์ สปริงเบรค สปริงคลัชท์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท เป็นต้น ซึ่งลวดเปียโนสามารถแบ่งเกรดเป็น SWPA, SWPB และ SWPV โดยแต่ละเกรดมีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันไปตามประเภทงาน
08-06-2022
เหล็กกล้าที่มีส่วนผสมของธาตุคาร์บอนเป็นธาตุหลัก แบ่ง เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Steel) เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนไม่เกิน 0.25% นอกจากคาร์บอนแล้ว ยังมีธาตุอื่นผสม- อยู่ด้วย เช่น แมงกานีส ซิลิคอน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน แต่มีปริมาณน้อยเนื่องจาก หลงเหลือมาจากกระบวนการผลิต เหล็กประเภทนี้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรม และใน ชีวิตประจำวันไม่ต่ำกว่า 90% เนื่องจากขึ้นรูปง่าย เชื่อมง่าย และราคาไม่แพง โดยเฉพาะเหล็กแผ่นมีการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น ตัวถังรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ กระป๋องบรรจุอาหาร สังกะสีมุงหลังคา เครื่องใช้ในครัวเรือน และในสำนักงาน 2. เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง (Medium Carbon Steel) เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอน 0.2-0.5% มีความแข็งแรงและความเค้นแรงดึงมากกว่า เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ แต่จะมีความเหนียวน้อยกว่า สามารถนำไปชุบแข็งได้ เหมาะกับ งานทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล รางรถไฟ เฟือง ก้านสูบ ท่อเหล็ก ไขควง เป็นต้น 3. เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High Carbon Steel) เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอน 0.5 - 1.5% มีความแข็งความแข็งแรงและความเค้น- แรงดึงสูง เมื่อชุบแข็งแล้วจะเปราะ เหมาะสำหรับงานที่ทนต่อการสึกหรอ ใช้ในการทำ เครื่องมือ สปริงแหนบ ลูกปืน เป็นต้น สินค้าที่ สยามลวดสามารถผลิตได้นั้น มีเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ หรือ (Low Carbon Steel) 1.ลวดเหล็กคาร์บอนต่ำ หรือที่เรียกว่า (Cold drawn) คือเหล็กที่ผลิตมาจากเหล็กลวดคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Wire Rods) โดยผ่านกระบวนการนำเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำมา รีดลดขนาดโดยการรีดเย็น จนเป็นผลิตภัณฑ์ลวดเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ มักใช้กับงานผูกเหล็ก ตะปู ตาข่าย และ ทำปลอกเสาเข็ม และสยามลวด นั้นสามารถผลิตได้ตั้งแต่ขนาด 6-12 mm. น้ำหนักต่อม้วนตั้งแต่ 250 kg - 2500 kg 2.เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High Carbon Steel) ที่เรียกว่า ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีตอัดแรง หรือ PC WIRE , PC STRAND นั่นเอง มักใช้กับงานแผ่นพิ้น เสาเข็ม เสาไฟฟ้า หมอนรองรางรถไฟ และคานสะพาน เป็นต้น และสามารถผลิต PC WIRE ได้ตั้งแต่ขนาด 4-9 mm. และ PC STRAND ขนาด 9.3 , 9.5 , 12.7 และ 15.2 mm.
08-06-2022
ทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงนั้น นอกจาก ลวดเหล็กกล้าสำหรับคอนกรีตอัดแรง ( PC WIRE , PC STRAND ) จะมีความสำคัญแล้ว ยังมีเครื่องดึงลวดที่ใช้ใน การดึงลวดเหล็กกล้าสำหรับคอนกรีตอัดแรง ให้มีสถานะพร้อมใช้งาน ถ่ายแรงสู่คอนกรีต ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ถึงแม้ลวดเหล็กจะดีแค่ไหนแต่ถ้าเครื่องดึง ไม่มีการปรับตั้งค่าแรงดึง ลวด ให้เหมาะสมกับประเภทงานคอนกรีตอัดแรง ตามรายการคำนวณทางวิศวกรรม และ ขนาดของลวดเหล็กที่นำมาใช้งาน 1.หากใช้แรงดึงที่ไม่เพียงพอ ก็สามารถ ทำให้ผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรง ไม่สามารถรับน้ำหนักใช้งานตามที่ออกแบบ หรือ อาจเกิดปัญหา กับชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ขึ้นได้ 2.หากใช้แรงดึงที่มากเกิน อาจส่งผลให้ลวดเหล็ก รับแรงไม่ได้และ ขาด ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ หรือ ในกรณีที่ดึงลวดเหล็ก เกินจุด YEILD ส่งผลทำให้ ลวดเหล็กไม่หดตัวกลับ ทำให้ไม่เกิดสภาวะการอัดแรง ส่งผลให้ไม่สามารถรับน้ำหนักใช้งานตามที่ออกแบบ และ การเสียหายของผลิตภัณฑ์ ทาง SIW จึงมีบริการหลังการขาย ในการสอบเทียบค่าแรงดึงของเครื่องดึงลวด จากที่ผู้เชี่ยวชาญ โดยให้บริการ ( ฟรี ) ให้กับลูกค้าของ SIW ทุกท่าน และบริการการถึงที่ ทั่วประเทศไทยเพื่อให้ลูกค้าทุกท่านมีความมั่นใจในการใช้ ลวดเหล็กกล้าสำหรับคอนกรีตอัดแรง ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ นอกจากจะมีการสอบเทียบให้กับลูกค้าแล้ว ยังมีการให้คำแนะนำการใช้งาน การดูแลรักษาเครื่องดึงลวดรวมไปถึงให้ความรู้ด้านเทคนิควิศวกรรม และยังให้คำแนะนำเรื่องการใช้งานอย่างปลอดภัย โดยทีมวิศวกรของ SIW อีกด้วย
08-06-2022
เมื่อพูดถึง “ไวร์เมช (Wire Mesh)” หลาย ๆ คนได้ยินชื่อนี้แล้ว อาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเคยเห็นและรู้จักกันในภาพลักษณ์ที่เป็นตะแกรงเหล็ก แบบแผ่น หรือเป็นม้วนใหญ่ ๆ ตามไซต์งานก่อสร้างต่าง ๆ ไวร์เมช (Wire Mesh)หรือ ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆนั้น รู้หรือไม่ว่ามันคืออะไร ตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh) คือ ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) นำมา อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้าทำให้จุดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีขนาดเส้นลวดขนาดต่างๆตั้งแต่ 4 มม. - 12 มม. และระยะห่างของเส้นลวดหรือที่นิยมเรียกว่า @ มีหลายขนาด เช่น 10*10 ซม / 15*15 ซม. / 20*20 ซม. / 25*25 ซม. / 30* 30 ซม. 40*40 ซม. / 50*50 ซม. สามารถตัดเป็นแผงได้ตามความต้องการโดยไม่เสียเศษเหล็ก จะใช้แทนการผูกเหล็กเส้นธรรมดาทั่วไปเป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และแรงงานได้มากเหล็กเส้นผูก และมีความสม่ำเสมอของตะแกรงที่แน่นอน อีกทั้งยังช่วยยึดเกาะคอนกรีตไม่ให้แตกร้าวง่าย ไวร์เมช จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการก่อสร้างนั่นเอง
08-06-2022
น้ำหนักของตะแกรงเหล็กก็มีความสำคัญมากในการสั่งซื้อเพราะ จะทำให้เราสามารถ รู้ได้ว่าจำนวนแผงได้ครบตามที่ต้องการหรือไม่ และยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องของ ขนาดเหล็กว่าได้เหล็กเต็มขนาดรึเปล่า วิธีการคำนวนอย่างง่าย ( ใช้ได้เฉพาะ ตะแกรงที่มีขนาดลวดและ ความห่างตาเท่ากัน เท่านั้น ) ตามภาพ ถึงอย่างไร น้ำหนักอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจาก มีรายละเอียดในตะแกรงเหล็กมากกว่านั้นเช่น จำนวนลวดที่ไม่เท่ากัน หรือ มีความต่างของ ขนาดลวด และความต่างของช่องตา จึงต้องมีการคำนวนอย่างละเอียด ถ้าต้องการทราบว่าน้ำหนักที่ถูกต้องก็ สามารถสอบถาม กลับมาทาง บริษัทสยามลวดเหล็กได้ เนื่องจากมีวิศวกร คอยให้ความรู้ และ สามารถสอบถามราคาได้ จึงมีความมั่นใจได้ว่า เหล็กของสยามลวด นั้น เป็นเหล็กเต็มขนาด และมีมาตรฐานในการผลิตที่ได้ตามมาตรฐาน มอก.
08-06-2022
ผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง หรือ (HOLLOW CORE) คือระบบแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงแบบกลวง ผลิตจากคอนกรีตแห้งหรือ NO SLUMP CONCRETEที่มีกำลังอัดสูงถึง 350 กก/ตร.ซม. เสริมด้วยลวดเหล็กแรงดึงสูง ( PC WIRE ) หรือ ลวดเหล็กกล้าตีเกลียว ( PC STRAND ) สามารถผลิตความหนาได้ตั้งแต่ 6 ซม. ไปจนถึง 30 ซม. แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) เหมาะสำหรับงานก่อสร้างอาคารประเภทต่างๆ เช่น อาคารพักอาศัย อาคารสำนักงาน ,โรงงานอุตสาหกรรม และห้างสรรพสินค้าโดยที่มี ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยและ มีขนาดความกว้างและหนาให้เลือก ตามความเหมาะสมของการใช้งาน ส่วนความยาวนั้นสามารถผลิตได้ตามความต้องการ ที่จะนำไปใช้งาน สำหรับข้อดีที่เป็นจุดเด่นเลยของการใช้งานแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) ก็คือ 1.น้ำหนักเบาช่วยประหยัดโครงสร้าง เช่น เสา, คาน , ฐานราก 2.แข็งแรง เพราะผลิตจากคอนกรีตกำลังอัดสูงทำให้แผ่นพื้น มีความทนทาน และคุณภาพสูง 3.รวดเร็วผลิตสำเร็จจากโรงงานลดเวลางานในการผูกเหล็กได้ 4.ประหยัด สะดวกไม่ต้องใช้ค้ำยันชั่วคราว และสิ่งที่จะขาดไม่ได้ และเป็นหัวใจสำคัญในการผลิต แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) ที่จะทำให้ มีความแข็งแรงมากขึ้นนั้น จำเป็นต้องมี ลวดเหล็กกล้าเสริมคอนกรีตอัดแรง PC WIRE , PC STRAND ที่ใช้ในการผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (HOLLOW CORE) และทางสยามลวดเอง ก็มีสินค้า PC WIRE และ PC STRAND ที่มีมาตรฐาน มอก.95-2540 และ 420-2540 ที่ได้รับความไว้วางใจ และเป็นที่ยอมรับมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก
08-06-2022
พื้น Post Tension โดยทั่วไป คือระบบพื้นคอนกรีตที่มีเหล็กเส้นที่รับแรงดึงได้มาก ๆ เสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเส้น เหล็กนั้นให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของพื้น การที่มีเหล็กแรงดึงดูดเสริมและดึงอยู่ในพื้นคอนกรีตนี่เอง ทำให้โครงสร้างชนิดนี้มีหน้าตัดที่บางลง และไม่จำเป็นต้องมีคานมารับหัวเสาเพื่อการถ่ายน้ำหนัก จากพื้นสู่เสาด้วย ราคาค่าก่อสร้างหลายอาคารก็ถูกลง และยังลดความสูงระหว่างชั้นได้ด้วย พื้นระบบ Post Tension คือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เพื่อให้โครงสร้างสามารถรับแรงได้มากกว่าปกติ จนทำให้โครงสร้าง พื้นเห็นเป็นเพียงแผ่นคอนกรีตบาง ๆ (20-28 ซม.) ไม่มีคานมารับตามช่วงเสา ทำให้พื้นระบบ Post Tension (สะดวกกว่าระบบมีคาน) และลดค่าใช้จ่ายในงานโครงสร้างได้ พอสมควรทีเดียว เนื่องจากพื้น Post-Tension เป็นระบบพื้นซึ่งดึงลวดอัดแรง จึงจำเป็นต้องร้อยลวดอัดแรงไว้ในท่อ Galvanized เพื่อไม่ให้คอนกรีตจับตัวกับลวดอัดแรง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ที่มีลักษณะต่างกันดังนี้ 1. Bonded System เป็นระบบมีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีตโดยหุ้มด้วยท่อเหล็กที่ขึ้นเป็นลอน เพื่อช่วยในเรื่องของแรงยึดเหนี่ยว ภายหลังเมื่อทำการอัดน้ำปูนเข้าไปให้เต็มท่อหลังการดึงลวด (GROUTING) เพื่อให้จับยึดระหว่าง PC Strand กับท่อเหล็ก จะใช้กับอาคารที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน และโครงสร้างขนาดใหญ่ 2. UnBonded System เป็นระบบไม่มีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีต แต่จะยึดที่บริเวณหัว Anchorage ที่ปลายพื้นทั้ง 2 ข้างเท่านั้น โดยใช้ ( PE unbounded PC strand )เป็นตัวยึดเหนี่ยว ระบบนี้ไม่เหมาะสำหรับอาคารที่จะมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้ งานในอนาคต แต่จะนิยมใช้กับระบบพื้นที่เป็น อาคารที่จอดรถ หรืออาคารขนาดเล็กที่มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานที่ตามมาในอนาคต ข้อดีขอ ระบบพื้นพื้น Post Tension รวดเร็วกว่า: สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับระบบพื้นโครงสร้างเสริมเหล็กทั่วไป คุ้มค่ากว่า : ออกแบบโดยคำนึงถึงความประหยัดของโครงสร้างและค่าก่อสร้างโดยรวม อาทิเช่นแรงงาน ไม้แบบ คอนกรีต เป็นต้น
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย